วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การรักษาทารกแรกคลอดผนังหน้าท้องไม่ปิด มีรูโหว่ลำไส้ไหลออกนอกช่องท้อง (Gastroschisis) ด้วยถุงซิลิโคนสปริงรามาธิบดี

ทารกแรกคลอดผนังหน้าท้องผิดปกติมี 2 ชนิด

      1. Omphalocele ผนังหน้าท้องไม่สมบูรณ์ รูโหว่อยู่กลางผนังหน้าท้องบริเวณสะดือ อวัยวะภายในยื่นออกนอกช่องท้องมีถุงเมมเบรนปิดคลุม มีสายสะดืออยู่บนถุง

      2. Gastroschisis ผนังหน้าท้องมีรูโหว่บริเวณสะดือ สายสะดืออยู่ข้างรูโหว่ช่องท้อง ผนังหน้าท้องเจริญสมบูรณ์แล้ว ไม่มีถุงปิดคลุมลำไส้และอวัยวะที่ยื่นออกนอกช่องท้อง

      อุบัติการณ์ พบ 1:2000 ของอัตราทารกแรกคลอด

      วิธีรักษา

      ดันลำไส้และอวัยวะนอกช่องท้องกลับเข้าช่องท้องและเย็บปิดผนังหน้าท้อง ต้องผ่าตัดในห้องผ่าตัด ต้องดมยาสลบทารกทุกราย

      ภาพ 1 ผนังหน้าท้องทารก Gastroschisis ลำไส้ยื่นออกนอกช่องท้อง แพทย์ดมยาสลบเด็กดันลำไส้กลับเข้าช่องท้องเย็บปิดผนังหน้าท้องได้ 

ภาพ 1 

      ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาทารก Gastroschisis

      การดันลำไส้จำนวนมากกลับเข้าช่องท้องอาจทำให้แรงดันในช่องท้องสูงมากจนดันกระบังลมทำให้ทารกหายใจไม่ได้ อาจกดหลอดเลือดดำใหญ่ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจไม่ได้ ไม่สามารถเย็บปิดผนังหน้าท้องทันที เพราะอาจทำให้ทารกเสียชีวิต

      ในอดีตและปัจจุบันการรักษาทารกกลุ่มนี้ต้องผ่าตัด แพทย์ต้องใช้แผ่นซิลิโคนสังเคราะห์หรือใช้ถุงผ้าหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกบางประกอบเป็นถุงหุ้มอวัยวะนอกนอกช่องท้องที่ดันไม่เข้า เย็บขอบรอบรูหน้าท้องทารก หลังจากนั้นจึงค่อยๆดันอวัยวะนอกช่องท้องกลับคืนเข้าช่องท้องวันละน้อย รอ 5-7 วันนำทารกไปดมยาสลบแล้วเย็บปิดผนังช่องท้อง

      ข้อเสีย

      ต้องผ่าตัด ถ้าติดเชื้อต้องตัดไหม ดึงแผ่นซิลิโคนหรือถุงผ้าออกปล่อยให้ทารกเป็นไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง (Abdominal wall hernia)

      การรักษาสมัยใหม่

      ปัจจุบันมีถุงซิลิโคนสปริงประดิษฐ์ใช้ในต่างประเทศแต่ไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย 

ภาพ 2 ถุง Springload Silo บริษัท Bentec California 

      ก้าวแรกที่รามาธิบดี

      รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุเมธ ธีรรัตน์กุล ได้รับเชิญเป็นแขกโรงพยาบาลเด็กบอสตัน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (visiting professor) ได้รับมอบถุงซิลิโคนสปริงตัวอย่างสำหรับรักษาทารก Gastroschisis (ภาพ 2) จากรองศาสตราจารย์นายแพทย์ Russell Jennings กุมารศัลยแพทย์โรงพยาบาลเด็กบอสตัน เมื่อกลับมารามาธิบดีจึงนำถุงต้นแบบมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นชุดซิลิโคนสปริงประกอบถุงพลาสติกสองชั้น (ภาพ 3) ใช้รักษาทารกแรกคลอดผนังหน้าท้องมีรูโหว่ Gastroschisis) ซึ่งกระเพาะอาหารและลำไส้จำนวนมากไหลออกนอกช่องท้อง ไม่สามารถดันกลับเข้าช่องท้อง 

ภาพ 3 ถุงพลาสติกประกอบ Silicone ring 

      ข้อดี ถุงพลาสติกใช้ห่อหุ้มกระเพาะอาหาร ม้าม และลำไส้ซึ่งอยู่นอกช่องท้อง ขดวงซิลิโคนสปริงช่วยค้ำดันผนังหน้าท้องด้านใน แพทย์สามารถใส่ถุงประกอบซิลิโคนสปริงที่หอผู้ป่วยเด็ก ไม่ต้องผ่าตัด รอเวลา 7-10 วันแพทย์เมื่อดันลำไส้ในถุงกลับเข้าช่องท้องได้จึงนำเด็กเข้าห้องผ่าตัด ดึงวงซิลิโคนสปริงและถุงออก เย็บปิดผนังหน้าท้อง ทำการรักษาเด็กสำเร็จติดต่อกัน 4 ราย

      ทารกทั้ง 4 รายได้รับการรักษาสำเร็จโดยการร่วมรักษาอย่างดียิ่งของของ กุมารศัลยแพทย์ กุมารแพทย์หน่วยทารกแรกเกิด วิสัญญีแพทย์ พยาบาล และแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลรามาธิบดี

      ตัวอย่าง การรักษาทารกเพศชายลำไส้จำนวนมากไหลออกนอกช่องท้อง นำเข้าห้องผ่าตัดไม่สามารถดันลำไส้กลับคืนช่องท้องได้ทั้งหมด (ภาพ 4) 

ภาพ 4 

      ใช้ถุงพลาสติกประกอบ silicone ring รักษา ใส่ถุงหุ้มลำไส้ไม่ต้องผ่าตัด 10 วันลำไส้ไหลกลับช่องท้อง เย็บปิดผนังหน้าท้องสำเร็จ (ภาพ 5) 1 เดือนหลังผ่าตัดผนังหน้าท้องปิดแผลหายดี (ภาพ 6) 

ภาพ 5 

ภาพ 6 

      ก้าวที่สอง ถุงซิลิโคนสปริงรามาธิบดี

      รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุเมธ ธีรรัตน์กุล ประดิษฐ์ถุงซิลิโคนประกอบขดสปริงชนิด
มีปีกค้ำและไม่มีปีก (ภาพ 7) 

ภาพ 7 

      คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยนายแพทย์นพพร ศรีทิพย์โพธ์ นายแพทย์สุเมธ ธีรรัตน์กุล กุมารศัลยแพทย์ ใช้ถุงซิลิโคนสปริงรามาธิบดีรักษาทารก แรกคลอด ผนังหน้าท้องมีรูโหว่ Gastroschisis กระเพาะอาหารและลำไส้จำนวนมากไหลออกนอกช่องท้อง ช่องท้องทารกมีขนาดเล็ก
(ภาพที่ 8) 

ภาพ 8 

      แพทย์ไม่สามารถดันกระเพาะลำไส้กลับเข้าช่องท้องและเย็บปิดผนังหน้าท้องทันที เพราะทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มสูง ดันปอดและหลอดเลือดดำทำให้ทารกเสียชีวิต แพทย์ใช้ถุงซิลิโคนสปริงรามาธิบดีรักษาทารก ถุงซิลิโคนใส่คลุมลำไส้ทารกได้ง่ายไม่ต้องผ่าตัด ขดสปริงและปีกค้ำผนังหน้าท้อง ดัง (ภาพที่ 9) 

ภาพ 9 

      ลำไส้ค่อยๆไหลลงช่องท้องทีละน้อย (ภาพ10) ครบ 10 วันถอดถุงออกลำไส้ไม่มีอันตรายออกสามารถเย็บปิดผนังหน้าท้องได้สำเร็จ (ภาพ11 ) 

  
ภาพ 10 ทารกนอนสบายไม่เจ็บปวด ไม่ต้องเย็บถุงรอบผนังหน้าท้อง

 
ภาพ 11 ผนังหน้าท้องและลำไส้หลังถอดถุงออก เย็บปิดผนังหน้าท้องได้สำเร็จ 

      ก้าวที่สาม

      ถุงซิลิโคนรุ่นล่าสุด สามารถใส่คลุมลำไส้โดยไม่ต้องผ่าตัด สามารถดึงออกโดยไม่ต้องผ่าตัด ผนังหน้าท้องสามารถหดตัวเล็กลงโดยไม่ต้องผ่าตัด

      ผลงานได้รับการนำเสนอในการประชุมวิชาการร่วมศัลยแพทย์ไทยและศัลยแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ พัทยา ชลบุรี 

      รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุเมธ ธีรรัตน์กุล

      หน่วยกุมารศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

      โทรศัพท์ 02-2011315, 081-6133834 โทรสาร 02-2011316

      E-mail : sumat.tee@mahidol.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น