วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคมะเร็งในเด็ก

โรคมะเร็งในเด็ก

      เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในเด็ก เนื้องอกมะเร็งเด็กมีลักษณะต่างจากผู้ใหญ่ ที่พบบ่อยคือมะเร็งต่อมหมวกไตและปมประสาทซิมพาทิทิค neuroblastoma, มะเร็งวิล์มของไต Wilms' Tumor, มะเร็งเซลสืบพันธ์ germ cell tumors ซึ่งตอบสนองดีต่อการรักษา 


      มะเร็งวิล์มไต Wilms' Tumor 

        
      ก้อนเนื้องอกที่เอวด้านขวาเด็กอายุ 4 ขวบ 

      พบบ่อยที่สุดคู่กับมะเร็งต่อมหมวกไตและปมประสาทซิมพาทิทิค neuroblastoma

      พบบ่อยอายุ 2-4 ขวบ ถ้ารักษาเร็ว หายขาด 90% แม้มะเร็งแพร่กระจาย

      มักพบก้อนในท้องบริเวณเอว ทำให้ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะเป็นเลือด หรือไม่มีอาการ เนื้องอกอาจกดเบียดอวัยวะข้างเคียง มะเร็งแพร่กระจายทำให้น้ำหนักลด อาจตรวจพบก้อนหลังจากเด็กได้รับอุบัติเหตุ คิดว่าเป็นผลจากอุบัติเหตุ

      97% ไม่มีประวัติครอบครัว กรรมพันธ์ หรือเหตุเสี่ยง

      ถ้ามีกรรมพันธ์ร่วมมักมีอาการเมื่ออายุน้อย และมักเป็นทั้งสองไต

      กลุ่มอาการร่วม WAGR syndrome ประกอบด้วยเนื้องอกวิล์ม ไม่มีม่านตา ไตและทางเดินปัสสาวะผิดปกติ ปัญญาอ่อน Beckwith-Wiedemann syndrome เด็กมีอวัยวะในช่องท้องโต ลิ้นโต น้ำตาลต่ำ 

      การตรวจวินิจฉัย

      ทำอัลตร้าซาวด์ ช่วยบอกลักษณะก้อนเนื้องอก ลามเข้าหลอดเลือดดำไตหรือหลอดเลือดดำใหญ่เวนาคาวา (venacava)
ควรตรวจคอมพิวเตอร์ช่องท้องและทรวงอกหาการแพร่กระจายก่อนผ่าตัด
และตรวจการทำงานไตด้านตรงข้ามก่อนด้วย 

                        

                       
        ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เนื้องอกวิล์มไตด้านขวา
        ส่วนไตด้านซ้ายทำงานปกติ ไม่มีเนื้องอกแพร่ไปที่ปอด 

      การรักษา

      1. ผ่าตัด  การรักษาปัจจุบันแบ่งเป็นสองกลุ่ม

      North America

พยายามตัดเนื้องอกออกก่อน ตามด้วยให้ยาเคมีบำบัด เชื่อว่าลดอัตราการเป็นซ้ำ

      The International Society of Paediatric Oncology (SIOP) 

พยายามทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลงด้วยเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด

      ผลการรักษา  ทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน มีความเห็นตรงกันให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นเนื้องอกที่ไตทั้งสองข้าง หรือมีเนื้องอกที่ไตข้างเดียวแต่ลามเข้าหลอดเลือดดำใหญ่

      จุดมุ่งหมายการผ่าตัด  ตัดเนื้องอกออกให้หมด พยายามไม่ให้ก้อนเนื้องอกแตก ตัดต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกตรวจ ตรวจไตด้านตรงข้ามด้วย ต้องป้องกันเนื้องอกหลุดเข้าหัวใจ อาจต้องผ่าตัดเข้าทรวงอกด้วย

      เป็นเนื้องอกไตสองข้าง ควรตัดชิ้นเนื้องอกตรวจพยาธิสภาพก่อนยังไม่ตัดไต ให้ยาเคมีบำบัด เมื่อก้อนเล็กลงจึงตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกออก (nephron-sparing procedure) 

                       
        ภาพแรกก้อนมะเร็งถูกตัดออกทั้งหมด มะเร็งไม่ร้ายเด็กหายดี
        ภาพที่สองก้อนเนื้องอกมะเร็งถูกผ่าซีก 

      2. การให้ยาเคมีบำบัดและฉายรังสีผู้ป่วยหลังผ่าตัด  ขึ้นกับพยาธิวิทยา และระยะของมะเร็ง

      กลุ่มเนื้องอกมะเร็งไม่รุนแรง (favorable histology)
      ระยะของมะเร็งที่ 1 หายขาด 97%
      ระยะของมะเร็งที่ 4 หาย 80% แม้แพร่กระจาย ยาเคมีบำบัดที่ให้เช่น dactinomycin และ vincristine และ doxorubicine

      กลุ่มเนื้องอกมะเร็งรุนแรง  เนื้องอก unfavorable histology การพยาการณ์โรคไม่ดี ควรให้ยาเคมีบำบัดเต็มที่ร่วมกับการฉายแสง

      นายแพทย์สุเมธ ธีรรัตน์กุล
      รองศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารศัลยศาสตร์
      หน่วยกุมารศัลยศาสตร์
      ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

      sumat.tee@mahidol.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น