วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ก้อนเนื้องอกท่อน้ำเหลือง Cystic Hygroma (lymphangioma)

ก้อนเนื้องอกท่อน้ำเหลือง Cystic Hygroma (lymphangioma)

      พบ 1 ต่อ 20,000 ในทารกแรกคลอด

      ตำแหน่งก้อนที่พบ พบมากที่ คอ รักแร้ ขาหนีบ และในทรวงอก (mediastinum)
มีน้ำเหลืองภายใน อาจเป็น cyst เดี่ยว หรือกลุ่ม

      ผนังด้านในก้อนเป็นเซลเยื่อบุท่อน้ำเหลือง (endothelium) อาจมีกลุ่มหลอดเลือด
ร่วมด้วย มักอยู่ล้อมรอบหลอดเลือด เส้นประสาท

      ก้อนทำให้เด็กมีอาการ

      เบียดดันอวัยวะข้างเคียง เช่นถ้าเป็นที่ลิ้น พื้นปาก หรือลึกในลำคอ อาจอุดกั้นหลอดลมทำให้หายใจลำบาก อุดกั้นทางเดินอาหารทำให้กลืนอาหารลำบาก ก้อนมักโตเร็วในเดือนแรกขณะเป็นทารก มักทำให้มีอาการมากช่วงอายุ 2 ปี พบก้อนที่คอต้องระวังอาจมีก้อนในทรวงอก หรือรักแร้ด้วย

      มีเลือดออกภายใน ทำให้ก้อนโตเร็ว

      อาจติดเชื้อ Streptococcus หรือ Staphylococcus

      สาเหตุ เกิดจากการแยกตัว ของท่อน้ำเหลืองผิดปกติ (sequestration) หรือท่อน้ำเหลืองในตัวอ่อนอุดตัน อาจมีเนื้องอกหลอดเลือดร่วมด้วย

      วินิจฉัย ตรวจร่างกายพอวินิจฉัยได้ ด้วย อัลตร้าซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เอกซเรย์ปอด

      การรักษา ถ้าก้อนโตเร็วกดทางเดินหายใจต้องเจาะระบายของเหลวออกช่วยการหายใจ มักไม่จำเป็นต้องเจาะคอ แพทย์สามารถวินิจฉัยก้อนก่อนตัวอ่อนอายุ 30 อาทิตย์ ถ้าก้อนใหญ่กดทางเดินหายใจอาจต้องใส่ท่อหายใจให้เด็กระหว่างคลอดขณะที่รกยังเกาะมดลูก ผ่าตัด ถ้าติดอวัยวะสำคัญไม่ต้องตัดออกหมด อาจเปิดผนังซีสต์ เลาะผนังบางส่วนออก ใส่ท่อระบาย อาจต้องผ่าตัดซ้ำ
      หรือฉีดสารเคมีทำให้ก้อนฝ่อ เช่น
      ยา OK-432 ซึ่งประกอบด้วย lyophilized mixture of group A Streptococcus pyogenes,
      ยา bleomycin ก็ทำให้ก้อนยุบได้แต่ยังไม่ยอมรับใช้กันมากนักเพราะอาจทำให้เกิด pulmonary fibrosis
      หรือฉีดน้ำเกลือเข้มข้น, สาร sclerosing agent
      ต้องรู้ขนาด วิธีฉีด ถ้าฉีดเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ปกติอาจทำให้ก้อนซีสต์กลายเป็นก้อนแข็ง
      ควรฉีดหรือผ่าตัดโดยกุมารศัลยแพทย์ ซึ่งรู้ขบวนการเกิดของก้อนตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์และพัฒนาการของก้อน 

             
      ภาพ 1 เด็กหญิงวัย 8 ขวบป็นก้อนที่คอด้านขวาโตบวมเร็วภายใน 3-4 เดือน 

              
      ภาพ 2 เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แสดงก้อนที่คอด้านซ้ายชิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ 

              
      ภาพ 3 ผ่าตัดพบของเหลวในก้อนเป็นเลือดเก่า 

             
      ภาพ 4 รอยแผล 2 ซ.ม. หลังผ่าตัด 

             
      ภาพ 5 เด็กหญิงอายุ 8 เดือน มีก้อนใต้คางด้านขวาขนาดใหญ่
               ดึงมุมปากขวาตกด้านเดียวกัน 

             
      ภาพ 6 เอกซเรย์ก้อนที่คอกดเบียดล้อมหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอด้านขวา
               ภายในก้อนใหญ่มีก้อนซีสต์เล็กหลายก้อน 

             
      ภาพ 7 ผ่าตัดใต้คางเลาะก้อนออกหมดใส่ท่อระบาย 7 วันไม่เป็นซ้ำ 

      โดอา เด็กหญิงชาวโอมานอายุ 4 เดือน คลอดออกมามีก้อนใต้คางซ้ายใต้ลิ้น และที่คอก้อนดันลิ้นยื่นออกนอกปาก โดอาควบคุมลิ้นไม่ได้ ดูดนมไม่ได้ ต้องใส่สายสอดเข้าจมูกลงกระเพาะ ให้นมทางสายยาง หายใจลำบาก เป็นปอดอักเสบเพราะน้ำลายไหลลงปอดตลอดเวลา ต้องอยู่โรงพยาบาลดูดเสมหะ ให้ยาปฏิชีวนะตลอด ได้รับการตัดชิ้นเนื้อที่ใต้ลิ้นที่ประเทศโอมานตรวจพบเป็นเนื้องอกท่อน้ำเหลือง Lymphangioma พ่อแม่พามาเมืองไทย (ภาพ 8) 

             
      ภาพ 8 

      ภาพเอกซเรย์พบก้อนใต้ลิ้นดันโคนลิ้น ดันใต้คอหอย เบียดทางเดินหายใจ (ภาพ 9) 

           
      ภาพ 9 

      ลงมีดเปิดใต้โคนลิ้นผ่าตัดก้อนออก และผ่าตัดก้อนใต้คางที่คอ ฉีดย้ำเกลือเข้มข้น ใส่ท่อระบาย 7 วัน เอาท่อระบายของเหลวออก เด็กหายใจดี หายปอดอักเสบ ดุดนมเองได้ ภาพ 10 

             
      ภาพ 10 

      2 เดือน หลังผ่าตัดเด็กควบคุมลิ้นดูดนมเอง ไม่เป็นปอดอักเสบอีกเลย โดอาหดลิ้นเข้าปาก แลบลิ้นออกนอกปาก หุบปากได้ปกติ ดูดนมเองได้ กินอาหารเคี้ยวแข็งได้ ภาพ 11 เป็นภาพที่พ่อโดอาถ่ายและส่งมาให้แพทย์ผู้ผ่าตัด พร้อมจดหมาย ภาษาอารบิคไม่รู้แปลว่าอะไร 

             
      ภาพ 11 

      จดหมายถึงแพทย์จากพ่อเด็ก

Hi doctor .
How are u sir ? I hope u are doing great .
Thanks to god and to u my daughter Doaa became much better and I m sending u her photo to be pleased as we are .
We again thank u and please accept our gratitude and thanks .

                                                        Abu Doaa / Oman


      นายแพทย์สุเมธ ธีรรัตน์กุล
      รองศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารศัลยศาสตร์
      หน่วยกุมารศัลยศาสตร์
      ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

      sumat.tee@mahidol.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น